นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

          บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณบริษัทฯพร้อมทั้งมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ตามกฎหมายและหลักสากลอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการละเมิดหรือสร้างผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ คณะกรรมการบริหารจึงเห็นสมควรให้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมุษยชนไว้ดังนี้
  1. คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัทฯ ให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบหลักปฏิบัติ ปฏิญญาสากล สนธิสัญญา และมาตรฐานแรงงานสากล ที่เกี่ยวข้องและให้การปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งของประเทศไทยและระหว่างประเทศ
  2. นำหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights :UDHR), หลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations GuidingPrinciples on Business and Human Rights : UNGP), ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration onFundamental Principles and Rights at Work) มาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจในด้านสิทธิมนุษยชน
  3. ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
  4. สนับสนุนให้มีการสื่อสาร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และนโยบายสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทฯ
  5. กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแล ติดตามตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง และจัดให้มีกระบวนการบรรเทา หรือเยียวยาผลกระทบที่เหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  6. เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็น แจ้งเบาะแส ปัญหา หรือ ข้อร้องเรียน หากมีการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯจะให้ความเป็นธรรมและปกป้องผู้รายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  7. กำหนดให้มีคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและพิจารณาความผิดกับบุคคลที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯหากตรวจสอบอย่างครบถ้วนแล้วว่าเป็นผู้กระทำความผิด และในกรณีที่การกระทำดังกล่าวเป็นการเรื่องที่ผิดกฎหมายก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
  8. กำหนดให้มีการรักษามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
  9. กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านทางรายงานการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน รายงานความยั่งยืน และเว็บไซต์การพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ